วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับระบบเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ต
ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จัดได้ว่าเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ที่ทำการเชื่อมต่อระบบ เข้ากันภายใต้มาตรฐานการสื่อสารของ (Protocol) เดียวกัน จนเกิดเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ทั่วโลก ในรูปแบบต่างๆ อันได้แก่ การแสดงผลของข้อมูลในรูปแบบตัวอักษร รูปภาพ รวมไปถึง ปัจจุบันได้มีการพัฒนาไปในลักษณะของมัลติมีเดียควบคู่การแสดงผลข้อมูลเพื่อให้เกิดความน่าสนใจและศึกษามากยิ่งขึ้น บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ มากมาย ซึ่งทำให้เกิดรูปแบบของบริการต่าง ๆ ตามมาเพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน ที่มีการเพิ่มของจำนวนการใช้งานเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน

ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 ประเทศไทยได้ติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในลักษณะการใช้บริการ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์ สถาบันที่ติดต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในลักษณะ ดังกล่าวคือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (PSU) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบัน เอไอที (AIT) การติดต่ออินเทอร์เน็ตของทั้งสองสถาบันเป็นการใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิคส์โดยความร่วมมือกับประเทศออสเตรเลียตามโครงการ IDP ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยง เครือข่ายด้วยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่นั้น ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต sritrang.psu.th ซึ่งนับว่าเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC (Thailand) จำกัด ได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ในกิจการของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน (domain) ซึ่งเป็นส่วนแสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยคำว่า “th” เป็นรหัสที่ย่อมาจากคำว่า Thailand

ปี พ.ศ. 2535 นับว่าเป็นปีที่อินเทอร์เน็ตเข้ามาในประเทศไทยอย่างเต็มตัว โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งเครือข่ายและได้เช่าสาย “ลีสไลน์” (leased line) ซึ่งเป็นสายความเร็วสูงเพื่อเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย “ยูยูเน็ต” (UUNET) ของบริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี จำกัด (UUNET Technologies Co.,Ltd.) ซึ่งตั้งอยู่ที่มลรัฐเวอร์จิเนียประเทศสหรัฐอเมริกา การเชื่อมต่อในระยะเริ่มแรกโดยลีสไลน์ความเร็ว 9600 bps (bps : bit per second) ปัจจุบันจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ขยายเครือข่ายโดยตั้งชื่อว่า “จุฬาเน็ต” (ChulaNet) และได้ปรับปรุงความเร็วของลีสไลน์จาก 9600 bps ไปเป็นความเร็ว 64 kbpsและ 128 kbps ตามลำดับ ในปีเดียวกันได้มีสถาบันการศึกษาหลายแห่งได้ขอเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาเหล่านี้คือ สถาบันเอไอที (AIT) มหาวิทยาลัยมหิดล (MU) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) และ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ (AU) โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่า เครือข่าย “ไทยเน็ต” (THAInet) ในปัจจุบันเครือข่ายไทยเน็ตประกอบด้วยสถาบันการศึกษาเพียง 4 แห่งเท่านั้น ส่วนใหญ่ย้ายการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเนคเทค (NECTEC) หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดังนั้น เครือข่ายไทยเน็ตจึงมีขนาดเล็ก จึงนับว่าเครือข่ายไทยเน็ตเป็นเครือข่ายที่มี “เกตเวย์” (gateway) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย
ปี พ.ศ. 2535 เป็นปีเริ่มต้นของการจัดตั้งกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการศึกษาและ วิจัย โดยมีชื่อว่า “เอ็นดับเบิลยูจี” (NWG : NECTEC E-mail Working Group) โดยหน่วยงานของรัฐที่มีชื่อว่า “ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ” หรือ “เนคเทค” (NECTEC : National Electronic and Computer Technology Centre) สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยนั้น กลุ่มเอ็นดับเบิลยูจี ได้จัดตั้งเครือข่ายชื่อว่า “ไทยสาร” (ThaiSarn : Thai Social / scientific and Research Network)

สำหรับเครือข่ายไทยสารได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 โดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยเกี่ยวกับระบบเครือข่ายจากเนคเทค โดยมีจุดประสงค์ในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยและองค์กรสำคัญ ๆ ในประเทศไทยเข้าด้วยกัน โดยจะมีเนคเทคเป็นศูนย์กลางการดำเนินงาน การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ระหว่างกันเช่นนี้เพื่อการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน ซึ่งเนคเทคได้สนับสนุนการจัดตั้งกลุ่ม NEWgroup (NECTEC E-mail Working Group) ในปี พ.ศ. 2534 โดยมีวัตถุประสงค์ในการสื่อสารบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยวิธี “จดหมายอิเล็กทรอนิกส์” (Electronic mail หรือ E-mail) ในตอนแรกกลุ่ม NEWgroup ประกอบด้วยสมาชิกจากสถาบันการศึกษา จำนวน 8 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU) สถาบันเอไอที (AIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU) สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่ (PSU) และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) เป็นต้น ซึ่งต่อมากลุ่ม NEWgroup ได้เปลี่ยนชื่อย่อเป็น "เอ็นดับเบิลยูจี” ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ในตอนเริ่มแรกของการพัฒนาระบบเครือข่ายของไทยสารเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยอุปกรณ์เชื่อมต่อชนิดที่เรียกว่า “โมเด็ม” (modem) โดยเชื่อมต่อด้วยระบบ “ยูยูซีพี” (UUCP : Unix to Unix Copy) ซึ่งต่อมาได้เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านเกตเวย์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อปี พ.ศ. 2536 และในปัจจุบันเครือข่ายไทยสารได้เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยเชื่อมโยงกับเครือข่าย “ยูยูเน็ต” ของบริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ที่มลรัฐเวอร์จิเนียประเทศสหรัฐอเมริกาโดยเช่าลีสไลน์ขนาดความเร็ว 64 kbps จึงนับว่าเครือข่ายไทยสารเป็นเกตเวย์สู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตแห่งที่สองของประเทศไทย ปัจจุบันเครือข่ายไทยสารเชื่อมโยงกับสถาบันต่าง ๆ มากกว่า 30 แห่ง โดยมีสถาบันการศึกษาและองค์กรของรัฐเป็นสมาชิกเครือข่ายจำนวนมากสถาบันเอไอที เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเกตเวย์ที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและที่เนคเทค ดังนั้นนับว่าสถาบันเอไอทีเป็นเครือข่ายเชื่อมระหว่างเครือข่ายไทยเน็ตกับ ไทยสาร ซึ่งเป็นผลดีต่อการสื่อสารระหว่างสมาชิกในเครือข่ายไทยเน็ตและเครือข่ายไทยสาร โดยมีผลทำให้การสื่อสารระหว่างเครือข่ายเป็นไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น ไม่เช่นนั้นแล้ว การสื่อสารระหว่างเครือข่ายทั้งสอง ต้องผ่านอินเทอร์เน็ตไปที่ประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ววกกลับมาประเทศไทย ซึ่งเป็นการเสียเวลาโดยใช่เหตุ

บริการต่างๆบนอินเตอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตนั้นจัดได้ว่าเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ ไว้ทั่วทุกมุมโลก คงปฏิเสธไม่ได้สำหรับในปัจจุบันถึงการที่มนุษย์ต้องยอมรับอินเทอร์เน็ตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต โดยในอินเทอร์เน็ตนั้นได้อำนวยความสะดวกต่อการดำรงชีวิตในด้านการบริการในรูปแบบที่แตกต่างกันดังนี

การให้บริการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

การให้บริการทางด้านการหาข้อมูล
การบริการเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ ๆ ที่มีไว้สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าผ่านระบบเครือข่ายอิเทอร์เน็ต โดยที่ผู้เข้ามาใช้บริการสามารถเข้าไปสัมผัสกับเทคโนโลยีข่าวสารที่เปลี่ยนแปลกทุกชั่วโมง หรือทุก ๆ วัน พร้อมทั้งทำให้ทราบเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกช่วงเวลาของเทคโนโลยี

บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยผู้ใช้สามารถทำการค้นหาข้อมูลในด้านต่าง ๆ ได้ตามต้องการ เช่น ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ ข่าวสารทางสังคม ข่าวสารทางด้านการเมือง ข่าวสารทางการปกครอง ข่าวสารทางการศึกษา หรือสามารถค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องการ ซึ่งมีเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลอยู่หลาย ๆ เว็บไซต์ที่มีไว้สำหรับผู้ใช้ต้องการเข้ามาใช้บริการได้ตามต้องการผู้ใช้สามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการค้นหาผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีทั้งบริการข้อมูลทั่วไห ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย หรือคลังข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่มากมายเป็นกลุ่ม ๆ ที่สามารถเชื่อมโยงและสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง
อินเทอร์เน็ตได้เก็บรวบรวมข่าวสารต่าง ๆ ไว้อย่างมากหมาย ไว้ให้ผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้ามีทั้งข้อมูลทางด้านสื่อ หรือการนำเสนอภาพลักษณ์ ของหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐบาล และเอกชน ในปัจจุบันมีการให้ข้อมูลของหน่วยงานผ่านเว็บไซต์เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ พร้อมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารให้กับสังคมได้รับทราบถึง ความเคลื่อนไหวและกิจกรรมต่าง ๆ ภายในองค์การ

การให้บริการทางด้านการศึกษา
อินเทอร์เน็ตมีบริการทางด้านการศึกษา เป็นห้องสมุดบนเครือข่าย มีไว้สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาหาความรู้ ไม่ว่าจะเป็นสาขาวิชาที่ทำการเปิดสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะเป็นในสาขาวิชาต่าง ๆ มากมายที่มีการเปิดการเรียนการสอน ในปัจจุบันนี้นักศึกษาเองสามารถที่จะเรียนอยู่ที่บ้านโดยไม่ต้องไปโรงเรียนได้ ด้วยการเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลก และยังเข้าไปค้นคว้าหนังสือตำราเรียน ในห้องสมุดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
สถานศึกษาที่เปิดสอนผ่านอินเทอร์เน็ต :
http://www.online.ILLINOIS.edu
บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันนี้มีหลาย ๆ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้มี หลักสูตรการเรียนทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต โดยหลักสูตรที่เปิดสอนนั้น มีตั้งแต่ระดับประกาศนียบัตร ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ซึ่งทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนอยู่ที่ไหนก็ได้ โดยไม่ต้องไปเข้าเรียนในชั้นเรียน เพียงแค่ผู้เรียนนั้นสมัครลงทะเบียนเรียนผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ทางมหาวิทยาลัยจะทำการจัดส่งตารางเรียน เอกสารประกอบการเรียนมาให้ โดยที่ผู้เรียนนั้นจะต้องออนไลน์เข้าสู่ อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าเรียนตามวันและเวลาที่กำหนดตามตารางเรียน

บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น ผู้ใช้สามารถที่จะค้นหาห้องสมุดออนไลน์ต่าง ๆ ได้เป็นจำนวนมากมาย ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้สะดวกรวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่าย ในการที่จะต้องเดินทางไปห้องสมุดเพื่อสืบค้นข้อมูลที่ต้องการ ซึ่งบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีบริการให้ยืมหนังสือออกจากห้องสมุดได้โดยเข้าไปใช้บริการบนอินเทอร์เน็ต โดยที่ผู้ใช้สามารถที่จะเลือกหนังสือที่ต้องการออกจากรายการหนังสือของห้องสมุด หลังจากนั้นทางห้องสมุดจะจัดส่งหนังสือให้ยืมถึงบ้านภายในเวลาที่กำหนด โดยการจัดส่งผ่านไปรษณีย์ มายังผู้ที่ใช้บริการ

การบริการด้านการสื่อสารข้อมูลบนระบบเครืออินเทอร์เน็ตนั้น เป็นสิ่งที่นิยมมากในการใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับด้านต่าง ๆ ด้านการสื่อสารนี้ได้แก่ การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การสนทนาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบออนไลน์ (Chat) การให้บริการข่าวสาร บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ( Newsgroup or Usenet ) การส่งข้อมูลและการโอนแฟ้มข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย ( Telnet and FTP)

การบริการด้านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail เป็นบริการที่เป็นที่นิยมมากบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถที่จะส่งข้อความไปถึง ผู้อื่นในอินเทอร์เน็ตได้โดยการใช้อีเมล์ ซึ่งสามารถส่งข้อความหรือจดหมายถึงกันโดยใช้เวลาในการส่งเพียงไม่กี่วินาที เพื่อเดินทางไปถึงจุดหมาย ถึงแม้ระยะทางจะห่างไกลกันเพียงใดก็ตาม ในการส่ง E-mail นั้น เหมือนกับการส่งจดหมายซึ่งจะต้องมีการจ่าหน้าซองถึงผู้รับ แต่เป็นการระบุถึงผู้รับในอินเทอร์เน็ต ซึ่งเรียกว่า E-mail Address ซึ่งบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีบริการฟรีเมล์มากมาย

การสนทนาออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยโปรแกรม ( Chat )

บริการบนอินเทอร์เน็ตเดิมมีการบริการส่งเฉพาะข้อความ ซึ่งในปัจจุบันเมื่อมีการพัฒนารูปแบบการใช้อินเทอร์เน็ต ให้ง่ายขึ้นด้วยการคิดค้น World Wide Web ที่แสดงข้อมูลได้ทั้งภาพและตัวอักษรทำให้อินเทอร์เน็ตกลายเป็นที่สนใจของผู้ใช้ทั่ว ๆ ไป ถึงแม้ว่ากลุ่มผู้ใช้นั้นจะไม่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ตาม เพราะว่าผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่ต้องใช้คำสั่งคอมพิวเตอร์ที่สลับซับซ้อนในการใช้งานอินเทอร์เน็ต นอกจากการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นด้วยการใช้ E-mail หรือ NewGroup การสื่อสารด้วยการพิมพ์โต้ตอบกันเป็นอีกบริการหนึ่งที่มีในอินเทอร์เน็ต ซึ่งรูปแบบในการสื่อสารด้วยข้อความเราเรียกว่า Chat โดยที่ผู้ใช้สามารถพิมพ์โต้ตอบแบบทันที กับผู้ร่วมสนทนา ซึ่งการสนทนาสามารถทำได้หลาย แบบจะคุยกับเพื่อน หลาย ๆ คนได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน หรือจะคุยเฉพาะในวงของคนรู้จักก็ได้

ภาพแสดง การใช้โปรแกรม PIRC98
หรือการใช้เสียงสนทนากับผู้อื่นบนอินเทอร์เน็ตคล้ายกับการใช้โทรศัพท์ธรรมดา ซึ่งมีข้อแตกต่างกันในการยกหูโทรศัพท์แบบที่ทำกัน เพราะเป็นการสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้ที่ต้องการสนทนาผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีไมโครโฟนที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ไว้สำหรับพูดคุยกับผู้อื่น และมีลำโพงส่งเสียงที่ได้รับจากผู้อื่น การใช้บริการนี้จะเหมือนการใช้โทรศัพท์แต่ไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์ให้กับองค์การโทรศัพท์ เพราะผู้ใช้ไม่ได้ใช้โทรศัพท์ แต่เป็นการใช้อินเทอร์เน็ตแทนการใช้โทรศัพท์

News Group หรือ Usenet เป็นบริการที่เป็นเสมือนบอร์ดข่าวสารบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้ใช้อนิเทอร์เน็ตทั่วโลกสามารถที่จะแลกเปลี่ยนข่าวสาร หรือความคิดเห็นของตนเองกับผู้อื่น โดยมีการจัดผู้ใช้หรือ Usenet ตามกลุ่ม ซึ่งเรียกว่า กลุ่มข่าว ซึ่งจะทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลในหัวข้อต่าง ๆ เช่น เรื่องของการตกแต่งบ้าน เรื่องรถ การแสดงความคิดต่อเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม การให้ความคิดต่อการศึกษา เป็นต้น ในปัจจุบันนี้มีกลุ่มข่าวสารเกิดขึ้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากกว่า 15,000 กลุ่มข่าวสาร ซึ่งมีตั้งแต่กลุ่มข่าวสารที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี จนกระทั่งไปถึงเรื่องของการดูแลรักษาตนเอง เป็นต้น ซึ่งกลุ่มข่าวสารนี้เป็นการแสดงความคิดเห็นของแต่ละคนสู่สาธารณชน และเป็นการให้ความรู้สึกในการที่จะแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งอื่นสิ่งใด อันจะนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขในเรื่องนั้น ๆ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นมุมมองในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งแต่ละคนจะมีมุมมองหรือทัศนะที่ไม่เหมือนกัน เมื่อเข้าไปใช้บริการจะทำให้ผู้ใช้มีความรู้สึกว่าสิ่งที่เราคิดอาจมีทั้งผิดและถูก และสามารถวัดได้ว่าเราคิดอย่างหนึ่งที่คิดว่าถูกที่สุดแล้ว แต่ยังมีอีกกลุ่มคนในสังคมที่อาจไม่มีแนวคิดเช่นเราก็ได้

การให้บริการการหางานและสมัครงานผ่านอินเทอร์เน็ต
บนอินเทอร์เน็ตนั้นได้มีเว็บไซต์หลายเว็บไซต์ ที่รับสมัครงานผ่านอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้สามารถเข้าไปเลือกที่จะสมัครได้ โดยมีการกรอกแบบฟอร์มการสมัครผ่านอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้จะต้องมี E-mail เพื่อที่จะให้บริษัทติดต่อกลับ ว่าได้หรือไม่ในการสมัครงานในครั้งนั้น การสมัครงาน บนอินเทอร์เน็ตมีข้อดีคือ ผู้สมัครไม่ต้องไปเดินสมัครงานทั้งวันแล้วได้งานเพียงหนึ่งที่หรือสองที่ แต่สามารถสมัครผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และยังสามารถสมัครได้หลายที่เพียงนั่งสมัครที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เท่านั้น
การให้บริการจัดหางานและสมัครงานบนอินเทอร์เน็ต
การให้บริการทางด้านความบันเทิง
การให้บริการทางด้านความบันเทิง สามารถหาได้หลากหลายบนอินเทอร์เน็ต โดยในแต่ละเว็บไซต์จะมีสิ่งเหล่านี้ให้กับผู้ใช้บริการ หรือผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้เข้าไปสัมผัส บางเว็บไซต์ก็เป็นเว็บที่ให้บริการด้านความบันเทิงโดยตรงก็มี ซึ่งการให้บริการบันเทิงบนอินเทอร์เน็ตได้แก่ การให้บริการหนังสือนิตยสารทางด้านแฟชั่นออนไลน์ การให้บริการดูหนังฟังเพลง การให้บริการเกมออนไลน์ การให้บริการแหล่งชุมนุมของวัยรุ่น และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่มีให้สำหรับความบันเทิงที่ไร้ขีดจำกัด บนอินเทอร์เน็ต
การ ให้บริการหนังสือนิตยสารทางด้านบันเทิงและแฟชั่นออนไลน
ผู้ใช้สามารถที่จะเข้าไปอ่านหนังสือ วารสาร หรือนิตยสารได้ ซึ่งในปัจจุบันนี้มีบริษัทที่ผลิตสิ่งพิมพ์จำนวนมาก จัดทำนิตยสารออนไลน์ โดยมีเนื้อหาที่เป็นทั้งภาษาไทยและอังกฤษ หรือภาษาอื่น ๆ ไว้บริการแก่ผู้ใช้มากมาย
การให้บริการดูหนังฟังเพลง
บนอินเทอร์เน็ตนั้นผู้ใช้สามารถที่จะฟังเพลงจากสถานีวิทยุต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ และยังชมการถ่ายทอดโทรทัศน์ได้อีกด้วย แต่คุณภาพของเสียงที่ได้รับจะไม่เท่ากับปกติ ซึ่งในด้านคุณภาพจัดได้ว่าเป็นที่น่าพอใจสำหรับผู้ใช้บริการ
การให้บริการเกมออนไลน์

บนอินเทอร์เน็ตนั้นมีเว็บไซต์มากมายที่มีเกมให้บริการเล่นฟรี โดยทั่วไปแล้วผู้ใช้สามารถเข้าไปเล่น หรือทดลองเล่นได้ หลังจากนั้นหากสนใจสามารถที่จะสั่งซื้อผ่านอินเทอร์เน็ตได
การให้บริการแหล่งชุมนุมของวัยรุ่น

การให้บริการแหล่งชุมนุมของวัยรุ่นนี้ เป็นการรวบรวมข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เกี่ยวกับวัยรุ่นไว้ในเว็บไซต์ และมีการให้บริการต่าง ๆ มากมาย เช่น

การให้บริการส่งข้อมูลทางไกล ( TelNet )

TelNet เป็นบริการที่ผู้ใช้งานนั้นสามารถที่จะ login เพื่อใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการที่จะสั่งงานให้คอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ห่างไกลออกไป โดยการจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานให้เป็นเสมือนจอภาพบนเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นได้ และสามารถที่จะสั่งให้โปรแกรมทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งได้โดยไม่ต้องทำงานประจำที่หน้าเครื่องนั้น โดยเหมือน กับผู้ใช้ได้เข้าไปใช้เครื่องนั้นเอง การให้บริการ TelNet มีประโยชน์มากสำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในรูปแบบตัวอักษร โดยหน้าที่ของโปรแกรม TelNet ช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำการ Login เข้าไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ที่ต่อเชื่อมอยู่ในเครือข่ายได้ เมื่อเราทำการ login เข้าไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่าย จะใช้คำสั่ง Telnet เพื่อเข้าไป login เครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ได้ ต่อไปโดยไม่จำเป็นต้องยกเลิกการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรก เมื่อทำการ login ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ก็สามารถไปเรียกใช้บริการต่าง ๆ บนเครื่องเหล่านั้นได้ด้วย ในปัจจุบันนี้หากสมัครเป็น สมาชิกกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายใดแล้ว จะได้รับรหัส ที่ใช้ในการ login เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายนั้น และถ้าต้องการที่จะเข้าไปทำการ login ต่อในเครื่อง อื่น ๆ ในเครือข่ายเราจะต้องใช้คำสั่ง TelNet โดยระบุชื่อที่อยู่ ของเครื่องปลายทางที่ต้องการจะทำการติดต่อ
การติดต่อสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ในการโอนย้ายข้อมูลระหว่างผู้ใช้โปรแกรม FTP กับ FTP Server ซึ่งกรณีในการใช้บริการการโอนย้ายข้อมูลมี 2 แบบ ดังน
1. การดาวน์โหลด ( Downloading ) เป็นการโอนย้ายข้อมูลจาก FTP Server มายังเครื่องของผู้ใช้งาน ต้องเดินทางไปขายสินค้าที่ต่างจังหวัด แต่ลืมเอกสารการขายมาด้วย ผู้ใช้สามารถที่จะนำรูปแบบบริการนี้เข้ามาใช้โดยทำการเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ต และเข้าไปดึงข้อมูลหรือ ดาวน์โหลดข้อมูลที่เก็บไว้ที่เครื่อง Server มาใช้ในการทำงานโดยการขอเรียกใช้ข้อมูลผ่านโปรแกรม FTP เท่านี้ผู้ใช้ก็จะได้รับข้อมูลเพื่อเตรียมตัวในการขายได้โดยไม่ต้องเสียเวลาเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับไปสำนักงานที่กรุงเทพเพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการทำงานในต่างจังหวัด

2. การอัพโหลด (Uploading ) เป็นการโอนย้ายข้อมูลจาก เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ไปยัง FTP Server ซึ่งการใช้งานก็จะตรงกันข้ามกับการดาวน์โหลด แตกต่างกันตรงที่การอัฟโหลดนั้นเป็นการป้อนข้อมูลสู่ระบบเครือข่าย
การบริการโอนย้ายข้อมูลนี้มีประโยชน์ต่อการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นอย่างมากโดยเฉพาะผู้ใช้ที่ต้องการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยไม่เสียเวลา และค่าใช้จ่าย เพราะโดยทั่วไปแล้วบนอินเทอร์เน็ตจะมีโปรแกรมการใช้งาน และเกมมากมายที่ผู้ใช้สามารถที่จะนำมาใช้ได้ ซึ่งมีตั้งแต่โปรแกรมประเภทฟรีแวร์ (Freeware) ที่สามารถนำมาใช้ได้ฟรี หรือโปรแกรมประเภทแชร์แวร์ (Shareware ) ที่ผู้ใช้สามารถนำมาทดลองใช้ก่อน แกละอื่น ๆ ให้เลือกที่จะดาวน์โหลดมากมาย

การให้บริการทางด้านธุรกิจ
การทำธุรกิจโดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้การติดต่อสื่อสารในด้านการทำธุรกิจสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ในภาคธุรกิจโดยทั่วไปหันมาทำการค้าผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) กันมากขึ้น เพราะภาวะทางด้านการแข่งขันของโลกแห่งเทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญในการทำธุรกิจในปัจจุบัน

การให้บริการขายสินค้าในระบบ E-Commerce
การซื้อขายสินค้าในปัจจุบันผู้ใช้สามารถซื้อผ่านอินเทอร์เน็ตได้ ในรูปแบบของ E-Commerce โดยสามารถที่จะเข้าไปเลือกพร้อมดูคุณสมบัติของสินค้าต่าง ๆ ผ่านทางจอคอมพิวเตอร์

ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นระบบเครือข่ายที่โยงใยกันทั่วโลกซึ่ง มีบริการในด้านต่าง ๆ มากมายไว้บริการสำหรับผู้ที่ต้องการในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่ง ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ใช้ ระบบเครือข่ายในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งมีอย่างหลากหลายดังนี้
Ø ประโยชน์ด้านการอ่าน บนอินเทอร์เน็ตนั้นมีบริการที่ทำให้สามารถทำการอ่านหนังสือ วารสารและนิตยสาร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้มีบริการทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ฯลฯ เช่น ComSaveving เป็นต้น
Ø ประโยชน์ด้านการค้นคว้าข้อมูล บนเครือข่ายอินเทอร็เน็ตนั้น มีบริการสามารถที่จะเข้าไปใช้บริการค้นหาข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เราสามารถที่จะเข้าไปค้นหา ข้อมูลที่เราสนใจใน Wold Wide Web หรือ WWW เช่นเข้าไปค้นหาข้อมูล อาจเป็นข้อมูลภาพและเสียง ฯลฯ ๆ อีกมากมาย
Ø ประโยชน์ด้านการประชาสัมพันธ์ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น มีบริการติดต่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ องค์การหรือหน่วยงานต่าง ๆ นิยมสร้างเว็บไซต์ (Web Site) บนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับองค์การและบริการต่าง ๆ เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลของบริษัท

Ø ประโยชน์ด้านการส่งคำอวยพร ในเทศการต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นมีบริการส่งการ์ดอวยพรและข้อมูลให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ผ่านระบบ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ มีบริการส่งการ์ดอวยพร อิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งไม่มีค่าใช้จ่าย หรือ การบริการฝากข้อความ บริการส่งเพลงให้ที่ต้องการส่งให้ คนที่รับข้อมูล
Ø ประโยชน์ด้านข้อมูลข่าวสาร บนเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น มีบริการอ่านข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจากมุมต่าง ๆ ได้ทั่วโลกโดยผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ให้บริการข้อมูลข่าวสาร เช่น CNN ตลอดจนหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศที่มีบริการข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว
Ø ประโยชน์ด้านการสำรองข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น มีบริการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ต่าง ๆ (Software Download) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งบริษัทผู้ผลิตมีไว้บริการ เช่น Microsoft, ฯลฯ ซึ่งในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีไว้บริการ ผู้ที่ต้องการดาวน์โหลดโปรแกรมเพื่อไปใช้งานก็สามารถเข้าไปดาวน์โหลดเพื่อทำการศึกษาหาความรู้ที่ทันสมัย อยู่เสมอ
Ø ประโยชน์ด้านการค้นคว้าข้อมูลจากห้องสมุด บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น มีบริการค้นหาข้อมูลจากห้องสมุด (Explore Libaries) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งในระบบเครือข่ายมีห้องสมุดออนไลน่ต่าง ๆ ไว้บริการเพื่อให้ผู้ที่ต้องการค้นหาข้อมูลและบริการอ่านหนังสือใหม่ ๆ ที่มีในห้องสมุดต่าง ๆ
Ø ประโยชน์ด้านการผ่อนคลาย บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น มีบริการเล่นเกม (Play Games) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการเกมออนไลน์ เพื่อให้ความบันเทิง และการฝึกทักษะทางสมองซึ่งเกมออนไลน์ มีอยู่หลายประเภทด้วยกัน เช่น เกมเพื่อการศึกษา ฯลฯ เกมส์เหล่านี้จะมีส่วนช่วยกระตุ้นการพัฒนาสมองของเด็กให้เร็วขึ้น และช่วยเสริมสร้างทักษะความคิดในเรื่องของการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ด้วยหาผู้เล่น
Ø ประโยชน์ด้านการซื้อสินค้า บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นมีบริการซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ (Shopping) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งจะมีระบบการซื้อขายสินค้าผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผู้ที่ต้องการเข้าไปซื้อสินค้าในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นทำการเลือกรายการสินค้าที่มีไว้บริการแล้วทำการสั่งจ่ายโดยใช้บัตรเครดิตได้ทันที ซึ่งจะทำให้การซื้อขายสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง
Ø ประโยชน์ด้านการความบันเทิง บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นมีบริการดูโทรทัศน์และฟังเพลง (Watch TV. And Listen Music) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถดูโทรทัศน์ฟังวิทยุ หรือดูรายการถ่ายทอดสดของสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ
Ø ประโยชน์ด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีบริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร (Exchange Message) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เราสามารถรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail กับผู้ใช้ บริการอินเทอร์เน็ตคนอื่น ๆ ได้ทั่วโลกในเวลาอันรวดเร็ว
Ø ประโยชน์ด้านการการสนทนา บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นมีบริการสนทนาออนไลน์ (Chat) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตรวมทั้งบริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail จะได้รับความนิยมมากในขณะนี้ จะทำให้ผู้ที่ใช้บริการ Chat สามารถที่จะพูดคุยกันได้โดยตรง เหมาะ สำหรับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว
Ø ประโยชน์ด้านการเรียนทางไกล บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น มีบริการเรียนทางไกลบนอินเทอร์เน็ต (Distance Learning) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งในปัจจุบันมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศ และต่างประเทศมีการใช้หลักสูตรการเรียนการสอนทางไกลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทั้งในระดับประกาศนียบัตร ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องไปเรียนที่มหาวิทยาลัย แต่สามารถทำการเรียนผ่านระบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านระบบออนไลน์เข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยเข้าเรียนตามวันและเวลาที่ทำการเรียนการสอน เช่น วิชาคณิตศาสตร์ การสอนภาษาอังกฤษ วิชาคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

Ø ประโยชน์ด้านค้นหาที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น มีบริการค้นหาที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งบนอินเทอร์เน็ตมีเว็บไซต์จำนวนมากที่ให้บริการค้นหาที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ของบุคคล องค์การ บริษัทต่าง ๆ เพียงแค่ป้อนข้อมูลของ บุคคลที่เราต้องการค้นหา เช่น ชื่อและนามสกุล ชื่อเมือง ชื่อรัฐ และประเทศ ลงในช่องที่กรอกข้อมูลก็สามารถที่จะทำการค้นหาได้


วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เครือข่ายที่แบ่งตามความเป็นเจ้าของ

ประเภทของเครือข่ายแบ่งตามระดับความปลอดภัยของข้อมูล
การแบ่งประเภทเครือข่ายตามระดับความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ อินเทอร์เน็ต (Internet), อินทราเน็ต (Intranet) และ เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet)
อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ทุกคนสามารถเชื่อมต่อเข้าได้ เครือข่ายนี้จะไม่มีความปลอดภัยของข้อมูลเลย ถ้าทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่แชร์ไว้บนอินเทอร์เน็ตได้ ในทางตรงกันข้าม อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคล ข้อมูลจะถูกแชร์เฉพาะผู้ที่ใช้อยู่ข้างในเท่านั้น หรือผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไม่สามารถเข้ามาดูข้อมูลในอินทราเน็ตได้ ถึงแม้ว่าทั้งสองเครือข่ายจะมีการเชื่อมต่อกันอยู่ก็ตาม ส่วนเอ็กทราเน็ตนั้นเป็นเครือข่ายแบบกึ่งอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ตกล่าวคือ การเข้าใช้เอ็กส์ทราเน็ตนั้นมีการควบคุม เอ็กส์ทราเน็ตส่วนใหญ่จะเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลบางอย่างซึ่งกันและกัน ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลนี้ต้องมีการควบคุม เพราะเฉพาะข้อมูลบางอย่างเท่านั้นที่ต้องการแลกเปลี่ยน
อินเทอร์เน็ต (Internet) อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นล้าน ๆ เครื่องเชื่อมต่อเข้ากับระบบและยังขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี อินเทอร์เน็ตมีผู้ใช้ทั่วโลกหลายร้อยล้านคน และผู้ใช้เหล่านี้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้อย่างอิสระ โดยที่ระยะทางและเวลาไม่เป็นอุปสรรค นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเข้าดูข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกตีพิมพ์ในอินเทอร์เน็ตได้ อินเทอร์เน็ตเชื่อมแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจ มหาวิทยาลัย หน่วยงานของรัฐบาล หรือแม้กระทั่งแหล่งข้อมูลบุคคล องค์กรธุรกิจหลายองค์กรได้ใช้อินเทอร์เน็ตช่วยในการทำการค้า เช่น การติดต่อซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตหรืออีคอมเมิร์ช (E-Commerce) ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับการทำธุรกิจที่กำลังเป็นที่นิยม เนื่องจากมีต้นทุนที่ถูกกว่าและมีฐานลูกค้าที่ใหญ่มาก ส่วนข้อเสียของอินเทอร์เน็ตคือ ความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างที่แลกเปลี่ยนผ่านอินเทอร์เน็ตได้ อินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอลที่เรียกว่า “TCP/IP (Transport Connection Protocol/Internet Protocol)” ในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย ซึ่งโปรโตคอลนี้เป็นผลจากโครงการหนึ่งของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ โครงการนี้มีชื่อว่า ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) ในปี ค.ศ.1975 จุดประสงค์ของโครงการนี้เพื่อเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกัน และภายหลังจึงได้กำหนดให้เป็นโปรโตคอลมาตรฐานในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นเครือข่ายสาธารณะ ซึ่งไม่มีผู้ใดหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง การเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตต้องเชื่อมต่อผ่านองค์กรที่เรียกว่า “ISP (Internet Service Provider)” ซึ่งจะทำหน้าที่ให้บริการในการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต นั่นคือ ข้อมูลทุกอย่างที่ส่งผ่านเครือข่าย ทุกคนสามารถดูได้ นอกเสียจากจะมีการเข้ารหัสลับซึ่งผู้ใช้ต้องทำเอง
อินทราเน็ต (Intranet) ตรงกันข้ามกับอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บ, อีเมล, FTP เป็นต้น อินทราเน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP สำหรับการรับส่งข้อมูลเช่นเดียวกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งโปรโตคอลนี้สามารถใช้ได้กับฮาร์ดแวร์หลายประเภท และสายสัญญาณหลายประเภท ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สร้างเครือข่ายไม่ใช่ปัจจัยหลักของอินทราเน็ต แต่เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำให้อินทราเน็ตทำงานได้ อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายที่องค์กรสร้างขึ้นสำหรับให้พนักงานขององค์กรใช้เท่านั้น การแชร์ข้อมูลจะอยู่เฉพาะในอินทราเน็ตเท่านั้น หรือถ้ามีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโลกภายนอกหรืออินเทอร์เน็ต องค์กรนั้นสามารถที่จะกำหนดนโยบายได้ ในขณะที่การแชร์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตนั้นยังไม่มีองค์กรใดที่สามารถควบคุมการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้
เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต พนักงานบริษัทของบริษัทสามารถติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอกเพื่อการค้นหาข้อมูลหรือทำธุรกิจต่าง ๆ การใช้โปรโตคอล TCP/IP ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้เครือข่ายจากที่ห่างไกลได้ (Remote Access) เช่น จากที่บ้าน หรือในเวลาที่ต้องเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจ การเชื่อมต่อเข้ากับอินทราเน็ต โดยการใช้โมเด็มและสายโทรศัพท์ ก็เหมือนกับการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต แต่แตกต่างกันที่เป็นการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายส่วนบุคคลแทนที่จะเป็นเครือข่ายสาธารณะอย่างเช่นอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อกันได้ระหว่างอินทราเน็ตกับอินเทอร์เน็ตถือเป็นประโยชน์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง ระบบการรักษาความปลอดภัยเป็นสิ่งที่แยกอินทราเน็ตออกจากอินเทอร์เน็ต เครือข่ายอินทราเน็ตขององค์กรจะถูกปกป้องโดยไฟร์วอลล์ (Firewall) ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่กรองข้อมูลที่แลกเปลี่ยนกันระหว่างอินทราเน็ตและอินเทอร์เน็ตเมื่อทั้งสองระบบมีการเชื่อมต่อกัน ดังนั้นองค์กรสามารถกำหนดนโยบายเพื่อควบคุมการเข้าใช้งานอินทราเน็ตได้ อินทราเน็ตสามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ในองค์กรได้หลายอย่าง ความง่ายในการตีพิมพ์บนเว็บทำให้เป็นที่นิยมในการประกาศข่าวสารขององค์กร เช่น ข่าวภายในองค์กร กฎ ระเบียบ และมาตรฐาน การปฏิบัติงานต่าง ๆ เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการเข้าถึงฐานข้อมูลขององค์กรก็ง่ายเช่นกัน ผู้ใช้สามารถทำงานร่วมกันได้ง่าย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) เป็นเครือข่ายกึ่งอินเทอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต กล่าวคือ เอ็กส์ทราเน็ตคือเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กร ดังนั้นจะมีบางส่วนของเครือข่ายที่เป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างสององค์กรหรือบริษัท การสร้างอินทราเน็ตจะไม่จำกัดด้วยเทคโนโลยี แต่จะยากตรงนโยบายที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ทั้งสององค์กรจะต้องตกลงกัน เช่น องค์กรหนึ่งอาจจะอนุญาตให้ผู้ใช้ของอีกองค์กรหนึ่งล็อกอินเข้าระบบอินทราเน็ตของตัวเองหรือไม่ เป็นต้น การสร้างเอ็กส์ทราเน็ตจะเน้นที่ระบบการรักษาความปลอดภัยข้อมูล รวมถึงการติดตั้งไฟร์วอลล์หรือระหว่างอินทราเน็ตและการเข้ารหัสข้อมูลและสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ นโยบายการรักษาความปลอดภัยข้อมูลและการบังคับใช้

ข้อมูลที่สามารถเข้าไปสืบค้น
1. เลข Hospital Number (HN) จากชื่อของผู้ป่วย เพื่อใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยลืมนำบัตรโรงพยาบาลมาเมื่อมารับการรักษาที่โรงพยาบาลเพื่อง่ายต่อการนำไปค้นเวชระเบียน (OPD card ) ของผู้ป่วย
2. ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ของ เบอร์โทรศัพท์ของผู้ป่วย เพื่อใช้ในกรณีที่ต้องการติดตามผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉิน ติดตามสอบถามเกี่ยวกับโรคที่ผู้ป่วยมารับการรักษา หรือเมื่อต้องการเยี่ยมบ้านผู้ป่วย
3. วันนัดตรวจ เพื่อใช้ในกรณีที่ทำใบนัดสูญหายทำให้ไม่ทราบวันนัดตรวจของผู้ป่วย
4. สิทธิการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยเพื่อตรวจสอบว่าผู้ป่วยใช้สิทธิในการรักษา
5. บันทึกการตรวจร่างกายของผู้ป่วยเพื่อให้แพทย์ นักกายภาพบำบัดผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้ตรวจร่างกายสามารถสืบค้นการตรวจร่างกายของผู้ป่วยได้ในกรณีที่ผู้ป่วยมารับการตรวจติดตามอาการ
6. ประวัติการรับการรักษาของผู้ป่วย
ประโยชน์จากการนำการสืบค้นข้อมูลผู้ป่วยผ่านระบบเครือข่ายในโรงพยาบาล
1. เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลสามารถสืบค้นข้อมูลต่างๆได้รวดเร็ว
2. เพิ่มความสะดวกในการสืบค้นข้อมูลต่างๆของผู้ป่วย
3. เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วยในการมารับบริการที่โรงพยาบาล
4. ลดปัญหาที่เกิดจากการบันทึกโดยใช้กระดาษ
4.1 ขยะที่เกิดจากกระดาษ
4.2 ข้อมูลไม่ชัดเจนจากการเขียนของผู้บันทึก ถูกน้ำเปรอะเปื้อน
5. สามารถเก็บข้อมูลที่เป็นความลับของผู้ป่วยให้ทราบได้เฉพาะเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
6. ลดทรัพยากรบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการค้นประวัติผู้ป่วย 7. ทำงานประสานกันเป็นอย่างดี
ตัวอย่างการนำการสืบค้นข้อมูลผู้ป่วยผ่านระบบเครือข่ายมาใช้ในโรงพยาบาล
การเข้าใช้งานระบบโดยใส่ pass word และ user name
การค้นวันนัดตรวจร่างกาย
บันทึกการรักษา
บทสรุป
การนำระบบเครือข่ายมาใช้ภายในโรงพยาบาลนั้นการที่จะทำให้ระบบใช้งานประสิทธิภาพนั้นต้องอาศัยปัจจัยหลายๆอย่างเข้ามาประกอบด้วยไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารขององค์กร บุคคลากรภายในองค์กร รวมทั้งระบบงานภายในองค์กรเข้ามามีส่วนด้วย ถ้าผู้บริหารไม่สนใจที่จะพัฒนาทั้งในเรื่องของงบประมาณ เรื่องของนโยบาย บุคคลากรภายในองค์กรไม่ใช้ระบบนั้นๆ หรือระบบที่ออกแบบมาไม่สอดคล้องกับระบบงานภายในองค์กร ระบบที่นำมาใช้ก็จะไม่มีประสิทธิภาพ

เครือข่ายที่แบ่งตามลักษณะการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น peer-to-peerและClient-server

ประเภทของระบบเครือข่ายแลน แบ่งตามลักษณะการทำงาน
Pee – to – Pear รูปแบบนี้นะครับเป็นเชื่อมต่อ โดยที่คอมพิวเตอร์แต่ล่ะเครื่องนี่นะครับ สามารถแบ่งทรัพยากรต่างๆ ใช้ร่วมกันได้นะครับ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ข้อมูล หรือ เครื่องพิมพ์ เป็นต้นครับ การเชื่อมต่อรูปแบบนี้นะครับจะไม่มีเครื่องใดเครื่องหนึ่ง เป็นหลักครับแต่จะยังคงคุณสมบัติเดิม ของระบบเครือข่ายไว้ครับ การเชื่อมต่อรูปแบบนี้นะครับจะทำในเครือข่าย ที่มีขนาดเล็กที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เกิน 10 เครื่องครับ และงานที่มีก็ต้องเป็นข้อมูลที่ไม่เป็นความลับ เพราะระบบรักษาความปลอดภัยจะใช้ได้ไม่ดีครับ
Client – Server รูปแบบนี้นะครับจะเป็นระบบที่เครื่อง คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีฐานะในการทำงานเท่าเทียมกันทุกเครื่อง ในเครือข่ายแต่จะมีเครื่องหนึ่งที่เป็นเครื่อง Server เป็นเครื่องที่ให้บริการทรัพยากร แก่เครื่อง Client ซึ่งเครื่องให้บริการนี้นะครับจะต้องเครื่องที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง จึงจะให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ ข้อดีของการเชื่อมต่อรูปแบบนี้นะครับก็คือ ระบบรักษาความปลอดจะมีประสิทธิภาพ เพราะข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ที่เครื่อง Server เพียงเครื่องเดียว จึงทำให้สามารถดูแลได้สะดวกครับ
การเชื่อมต่อแบบไร้สาย ( Wireless Lan : WLAN) การเชื่อมต่อรูปแบบนี้นะครับในปัจจุบันนี้กำลังเป็นที่นิยมมากเลยทีเดียวครับ เหมาะที่จะใช้กับเครื่องพีซี หรือ เครื่อง NoteBook ครับ ซึ่งการส่งสัญญาณติดต่อกันนั้นนะครับก็จะใช้คลื่นวิทยุเป็นคลื่นพาหะครับ จุดเด่นของการเชื่อมต่อรูปแบบนี้นะครับก็ได้แก่
การเคลื่อนที่ทำได้สะดวกมากครับ สามารถใช้งานจากที่ใดก็ได้
การติดตั้งใช้งานสามารถทำได้ง่ายมากครับ เพราะไม่จำเป็นต้องเดินสายให้ยุ่งยากครับ
การขยายระบบก็สามารถทำได้ง่ายครับ เพราะสามารถขยายระบบไปที่ใดก็ได้
ลดค่าใช้จ่ายลงได้ครับ เพราะปัจจุบันสามารถใช้งานได้ไกลถึง 10 กิโลเมตร เลยนะครับ ซึ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการใช้สายสัญญาณครับ
มีความยืดหยุ่นในการใช้งานครับ สามารถนำไปใช้ได้กับทุกรูปแบบของการเชื่อมต่อ และการติดตั้ง Application ก็สามารถทำได้ง่ายอีกด้วย

เครือข่ายที่แบ่งตามลักษณะกายภาพ เช่น PAN,LAN,MAN,WAN

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (computer network) คือ ระบบ
การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป
การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง
การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้
ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผล, หน่วยความจำ, หน่วยจัดเก็บข้อมูล, โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้
เครือข่าย (network) เป็นการเชื่อมต่อ
คอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกัน เพื่อสะดวกต่อการร่วมใช้ข้อมูล, โปรแกรม หรือเครื่องพิมพ์ และยังสามารถอำนวยความสะดวกในการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องได้ตลอดเวลา ระบบเครือข่ายจะถูกแบ่งออกตามขนาดของเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันเครือข่ายที่รู้จักกันดีมีอยู่ 3 แบบ ได้แก่
เครือข่ายภายใน หรือ
แลน (Local Area Network: LAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นอยู่ในห้อง หรือภายในอาคารเดียวกัน
เครือข่ายวงกว้าง หรือ
แวน (Wide Area Network: WAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกัน ในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็น กิโลเมตร หรือ หลาย ๆ กิโลเมตร
ข่ายงานบริเวณนครหลวง หรือ
แมน (Metropolitan area network) : MAN)
และยังมีอีกสองเครือข่ายที่ยังมีเพิ่มเติมอีกคือ
เครือข่ายของการติดต่อระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ
แคน (Controller area network) : CAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อกันระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro Controller unit: MCU)
เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ
แพน (Personal area network) : PAN) เป็นเครือข่ายไร้สาย

รูปแบบของการเชื่อมโยงเครือข่าย หรือโทโปโลยี (Topology)
โทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกันออกไป การนำไปใช้จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่าย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้

1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS)
เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น
สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้
ข้อดี
- ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก

ข้อเสีย
- อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
- การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้

2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING)
เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป
ข้อดี
- ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
- การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป
- คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
ข้อเสีย
- ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้
- ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง

3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR)
เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป
ข้อดี
- การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย
ข้อเสีย
- เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ
4.โทโปโลยีแบบ Hybrid
เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนำมาใช้กับระบบ WAN (Wide Area Network) มาก ซึ่งการเชื่อมต่อกันของแต่ละรูปแบบนั้น ต้องใช้ตัวเชื่อมสัญญาญเข้ามาเป็นตัวเชื่อม ตัวนั้นก็คือ Router เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกัน
5.โทโปโลยีแบบ MESH
เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก

ประเภทของระบบเครือข่าย Lan ซึ่งแบ่งตามลักษณะการทำงานในการแบ่งรูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย Lan นั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่การเชื่อมต่อแบบ Peer - To - Peer และแบบ Client / Server
1. แบบ Peer - to - Peer
เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ละเครื่อง จะสามารถแบ่งทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์หรือเครื่องพิมพ์ซึ่งกันและกันภายในเครือข่ายได้ เครื่องแต่ละเครื่องจะทำงานในลักษณะทีทัดเทียมกัน ไม่มีเครื่องใดเครื่องเครื่องหนึ่งเป็นเครื่องหลักเหมือนแบบ Client / Server แต่ก็ยังคงคุณสมบัติพื้นฐานของระบบเครือข่ายไว้เหมือนเดิม การเชื่อต่อแบบนี้มักทำในระบบที่มีขนาดเล็กๆ เช่น หน่วยงานขนาดเล็กที่มีเครื่องใช้ไม่เกิน 10 เครื่อง การเชื่อมต่อแบบนี้มีจุดอ่อนในเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัย แต่ถ้าเป็นเครือข่ายขนาดเล็ก และเป็นงานที่ไม่มีข้อมูลที่เป็นความลับมากนัก เครือข่ายแบบนี้ ก็เป็นรูปแบบที่น่าเลือกนำมาใช้ได้เป็นอย่างดี
2. แบบ client-server
เป็นระบบที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีฐานะการทำงานที่เหมือน ๆ กัน เท่าเทียมกันภายในระบบ เครือข่าย แต่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่อง Server ที่ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรต่าง ๆ ให้กับ เครื่อง Client หรือเครื่องที่ขอใช้บริการ ซึ่งอาจจะต้องเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพที่ค่อนข้างสูง ถึงจะทำให้การให้บริการมีประสิทธิภาพตามไปด้วย ข้อดีของระบบเครือข่าย Client - Server เป็นระบบที่มีการรักษาความปลอดภัยสูงกว่า ระบบแบบ Peer To Peer เพราะว่าการจัดการในด้านรักษาความปลอดภัยนั้น จะทำกันบนเครื่อง Server เพียงเครื่องเดียว ทำให้ดูแลรักษาง่าย และสะดวก มีการกำหนดสิทธิการเข้าใช้ทรัพยากรต่าง ๆให้กับเครื่องผู้ขอใช้บริการ หรือเครื่อง Client

ประเภทของระบบเครือข่ายมีอีกรูปแบบหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ก็คือ การเชื่อมต่อแลนแบบไร้สาย Wireless Lan แลนไร้สาย WLAN เป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้ได้อย่างกว้างขวาง เหมาะที่จะใช้ได้ทั้งเครื่องพีซีตั้งโต๊ะธรรมดา และเครื่อง NoteBook ซึ่งการส่งสัญญาณติดต่อกันนั้น จะใช้สัญญาณวิทยุเป็นพาหะ ดังนั้นความเร็วในการส่งข้อมูลก็จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับระยะทาง ระยะทางยิ่งไกล ความเร็วในการส่งข้อมูลก็ทำให้ช้าลงไปด้วย แลนไร้สายเหมาะที่จะนำมาใช้กับงานที่ต้องการความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน อย่างเช่นพวก เครื่อง NoteBook เพียงแต่มีอินเตอร็เฟสแลนแบบไร้สาย ก็สามารถเคลื่อนที่ไปที่ใดก็ได้ภายในของเขตของระยะทางที่กำหนด อย่างเช่นภายในตึกได้ทั่วตึกเลยที่เดียว จุดเด่น ๆ ของ Wireless Lan มีดังนี้
- การเคลื่อนที่ทำได้สะดวก สามารถใช้ระบบแลนจากที่ใดก็ได้ และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้แบบ Real Time ได้อีกด้วย
- การติดตั้งใช้งานง่าย และรวดเร็ว ไม่ต้องเดินสายสัญญาณให้ยุ่งยาก
- การติดตั้งและการขยายระบบ ทำได้อย่างกว้างขวาง เพราะสามารถขยายไปติดตั้งใช้งาน ในพื้นที่ ที่สายสัญญาณเข้าไม่ถึง
- เสียค่าใช้จ่ายลดน้อยลง เพราะว่าในปัจจุบันการส่งสัญญาณของ Wireless Lan ทำได้ไกลมากยิ่งขึ้น สามารถส่งได้ไกลกว่า 10 กม. ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในส่วนของการเช้าสายสัญญาณลงไปได้เป็นอย่างมาก
- มีความยืดหยุ่นในการใช้งานและการติดตั้ง สามารถปรับแต่งระบบให้ใช้ได้กับทุก Topology เลยทีเดียว การปรับแต่งทำได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งเครือข่าย การติดตั้ง Application ต่าง ทำได้โดยง่าย
มาตราฐานของ Wireless Lan นั้นตามมาตรฐานสากล 802.11 มีอัตราการส่งสัญญาณข้อมูลได้สูงสุด 11 เมกะบิตต่อวินาที ระยะทางการรับส่งสัญญาณขึ้นอยู่กับผู้ผลิตว่าออกแบบมาอย่างไร ถ้าเป็นการใช้ภายในอาคารสถานที่ ก็จะใช้สายอากาศแบบทุกทิศทาง จะได้ระยะทางประมาณ 50 เมตร แต่ถ้าเป็นการใช้กันแบบจุดต่อจุดหรือนอกสถานที่ ก็จะมีการออกแบบให้ใช้สายอากาศแบบกำหนดทิศทาง ให้ได้ระยะทางมากกว่า 10 กม.ได้

วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552

วัตถุประสงค์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ เป็นระบบการสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป การติดต่อจะผ่านทางช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
วัตถุประสงค์ที่นำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันนี้ เพื่อการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน
ระบบเครือข่ายสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นล้าน ๆ เครื่องจากทั่วโลกเข้าด้วยกัน สำหรับเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปัจจุบัน คือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง การสื่อสารข้อมูลหรือสารสนเทศระหว่างคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการใช้งานอยู่ ณ ที่ต่าง ๆ โดยผ่านอุปกรณ์สื่อสารข้อมูลเพื่อให้มนุษย์สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และยังทำให้ผู้ใช้ในสถานที่ต่าง ๆ ติดต่อสื่อสารกันได้อย่างทั่วถึง

วัตถุประสงค์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การเข้าถึงคอมพิวเตอร์จากระยะไกล

การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องเข้าหากัน
การส่งข่าวสาร

ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การใช้ระบบเครือข่ายเพื่อการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน
การใช้ระบบเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการจัดการและการใช้ทรัพยากรของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด
การสำรองข้อมูลและระบบโปรแกรมผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การเข้าถึงและใช้งานทรัพยากรคอมพิวเตอร์และระบบฐานข้อมูลของหน่วยงานจากระยะไกล

องค์ประกอบของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
-ระบบคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการหรือเซิร์ฟเวอร์
คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้รับบริการหรือไคลเอ็นต์
-ช่องทางการสื่อสาร หมายถึง สื่อกลาง หรือตัวกลางที่ข่าวสารข้อมูลส่งผ่านเข้ามา ข้อมูลที่ส่งผ่านเข้ามาในรูปสัญญาณจะผ่านสื่อกลางได้หลายแบบได้แก่ แบบระบบใช้สาย คือ ส่งผ่านตามสายนำสัญญาณชนิดต่าง ๆ ได้แก่ สายคู่ตีเกลียว สายโคแอกเชียล สายเคเบิลใยแก้วนำแสง และ ระบบไร้สาย คือ ส่งผ่านตัวกลางที่เป็นอากาศในรูปของคลื่นแม่เหล็ก ได้แก่ ระบบไมโครเวฟ ระบบดาวเทียม ระบบเซลลูลาร์
-อุปกรณ์
-โปรแกรม
เน็ตเวิร์ก คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สามารถรับส่งข้อมูล และสื่อสารข้อมูลถึงกันโดยมีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป ซึ่งมักเรียกว่าเป็นระบบปฏิบัติการเครือข่าย
โมเด็ม คือ อุปกรณ์ที่ต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อเชื่อมโยงติดต่อไปยังเครื่องที่อยู่ห่างไกล ผ่านทางสายโทรศัพท์ โดยโมเด็มจะแปลงสัญญาณดิจิตัลที่คอมพิวเตอร์ใช้เป็นสัญญาณแอนะล็อก เพื่อให้ส่งผ่านสายโทรศัพท์ได้ โมเด็มมี 2 ประเภท คือ โมเด็มแบติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์และโมเด็มแบบติดตั้งภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์
สายเคเบิลใยแก้วนำแสง คือ ใบแก้วบาง ๆ ทาเป็นเส้น ๆ มีความสามารถในการนำสัญญาณดีเยี่ยม ใช้สำหรับการสื่อสารที่ต้องการความรวดเร็ว ซึ่งได้รับความนิยมในระบบเครือข่ายต่าง ๆ
เซิร์ฟเวอร์ คือ คอมพิวเตอร์ศูนย์บริการที่ทำหน้าที่ควบคุมเครือข่ายทั้งหมด ทั้งบริการทางด้านการพิมพ์การสื่อสารและงานบริการอื่น ๆ
ไคลเอ็น คือ คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมที่ใช้เพื่อขอเชื่อมต่อหรือขอบริการจากผู้ให้บริการ

ความหมายของเครือข่าย

ความหมายของเครือข่าย
นักวิชาการและผู้รู้หลายท่านทั้งชาวไทยและต่างประเทศได้ให้คำจำกัดความและความหมายของ “เครือข่าย (Network)” ไว้มากมาย แต่ส่วนใหญ่จะมีความคล้ายคลึงกัน ดังนี้
· ในพจนานุกรมของ The Webster’s Collegiate ได้ให้คำจำกัดความของ “เครือข่าย” ไว้ว่า เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือบริการกันระหว่างบุคคล กลุ่มหรือสถาบัน
· Paul Starkey ที่ปรึกษาทางวิชาการด้านการสร้างเครือข่ายในแอฟริกา ให้ความหมายของ “เครือข่าย” ว่า คือ กลุ่มของคนหรือองค์กรที่สมัครใจแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลระหว่างกัน หรือทำกิจกรรมร่วมกัน ในลักษณะที่บุคคลหรือองค์กรสมาชิกยังคงมีความเป็นอิสระในการดำเนินกิจกรรมของตน ในความหมายนี้ สาระสำคัญ คือ ความสัมพันธ์ของสมาชิกในเครือข่ายต้องเป็นไปโดยสมัครใจ กิจกรรมที่ทำในเครือข่ายต้องมีลักษณะเท่าเทียมกันหรือแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน และการเป็นสมาชิกของเครือข่ายไม่มีผลกระทบต่อความเป็นอิสระหรือความเป็นตัวของตัวเองของคนหรือองค์กรนั้นๆ
นอกจากนี้ นักวิชาการจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของประเทศไทยได้ให้คำจำกัดความของ “เครือข่าย” ในหลายมุมมองออกไป ดังนี้
· “เครือข่าย” หมายถึง การประสานงานรูปแบบหนึ่งที่โยงใยการทำงานของกลุ่มบุคคล หรือ องค์กรหลายองค์กร ซึ่งมีทรัพยากร มีเป้าหมาย มีกลุ่มสมาชิกของตนเอง ที่มีความคิด มีปัญหา มีความต้องการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเหมือนกันหรือคล้ายกัน มาติดต่อประสานงานหรือร่วมกันทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เพื่อแก้ไขปัญหาหรือสนองความต้องการในเรื่องนั้นๆ โดยยึดหลักการทำงานร่วมกันบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน เคารพซึ่งกันและกัน มากกว่าการเชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้มีอำนาจสั่งการ
· “เครือข่าย” คือ การเชื่อมโยงของกลุ่มของคนหรือกลุ่มองค์กรที่สมัครใจ ที่จะแลกเปลี่ยนข่าวสารร่วมกัน หรือทำกิจกรรมร่วมกัน โดยมีการจัดระเบียบโครงสร้างของคนในเครือข่ายด้วยความเป็นอิสระ เท่าเทียมกันภายใต้พื้นฐานของความเคารพสิทธิ เชื่อถือ เอื้ออาทร ซึ่งกันและกัน ประเด็นสำคัญของนิยามข้างต้น คือ
Ø ความสัมพันธ์ของสมาชิกในเครือข่ายต้องเป็นไปโดยสมัครใจ
Ø กิจกรรมที่ทำในเครือข่ายต้องมีลักษณะเท่าเทียมหรือแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
Ø การเป็นสมาชิก เครือข่ายต้องไม่มีผลกระทบต่อความเป็นอิสระหรือความเป็นตัวของตัวเองของคนหรือองค์กรนั้น ๆ
· “เครือข่าย” หมายถึง รูปแบบของการประสานงานกลุ่มของคนหรือองค์กรที่สมัครใจแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลระหว่างกัน หรือทำกิจกรรมร่วมกัน ช่วยเหลือกัน โดยการติดต่ออาจทำได้ทั้งที่ผ่านศูนย์กลางแม่ข่ายหรือแกนนำ หรืออาจจะไม่มีแม่ข่ายหรือแกนนำแต่จะทำการติดต่อโดยตรงระหว่างกลุ่ม ซึ่งจะมีการจัดรูปแบบหรือจัดระเบียบโครงสร้างที่คนหรือองค์กรสมาชิกยังคงมีความเป็นอิสระ โดยที่อาจมีรูปแบบการรวมตัวแบบหลวมๆ เฉพาะกิจ ตามความจำเป็นหรือเป็นโครงสร้างที่มีความสัมพันธ์ชัดเจน

รหัสแทนข้อมูล

รหัสแทนข้อมูล
คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยหลักการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่แทนสัญญาณทางไฟฟ้าด้วยตัวเลขศูนย์ และหนึ่งซึ่งเป็นตัวเลขในระบบฐานสอง แต่ละหลักเรียกว่า บิต และเมื่อนำตัวเลขหลายๆบิตมา เรียงกัน จะใช้สร้างรหัสแทนความหมายจำนวน หรือตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ ทั้งภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษได้ และเพื่อให้การสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อความระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์เป็น ไปในแนวเดียวกันจึงมีการกำหนดมาตรฐานรหัสตัวเลขในระบบเลขฐานสอง สำหรับแทน สัญลักษณ์เหล่านี้ รหัสมาตรฐานที่นิยมใช้กันมากมีสองกลุ่ม คือ
1. รหัสแอสกี ( ASCII)
เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้กันมากในระบบคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารข้อมูล รหัสแทนข้อมูล ชนิดนี้ใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต หรือเท่ากับ 1 ไบต์แทนอักขระหรือสัญลักษณ์แต่ละตัว ซึ่งหมายความว่าการแทนอักขระแต่ละตัวจะประกอบด้วยตัวเลขฐานสอง 8 บิตเรียงกัน ซึ่ง ลำดับของแต่ละบิตเป็นดังนี้
บิตที่ 7 6 5 4 3 2 1 0
ตัวอย่างรหัสแทนข้อมูล เช่น
บิตที่7 6 5 4 3 2 1 0 อักขระที่แทน
0 0 1 1 0 1 1 1 7
0 1 0 0 0 1 1 1 G
0 1 1 0 0 1 1 1 g
จากหลักการของระบบเลขฐานสอง แต่ละบิตสามารถแทนค่าได้ 2 แบบ คือ เลข 0 หรือเลข 1 ถ้าเราเขียนเลขฐานสองเรียงกัน 2 บิต ในการแทนอักขระ เราจะมีรูปแบบในการแทนอักขระ ได้ 22 หรือ 4 รูปแบบ คือ 00,01,10 และ 11 ดังนั้นในการใช้รหัสแอสกีซึ่งมี 8 บิตใน การแทนอักขระแล้ว เราจะมีรูปแบบที่ใช้แทนได้ถึง 28 หรือ 256 รูปแบบ ซึ่งเมื่อใช้แทน ตัวอักษรภาษาอังกฤษแล้วยังมีเหลืออยู่ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. จึงได้กำหนดรหัสภาษาไทยเพิ่มลงไปเพื่อให้ใช้งานร่วมกัน
ตารางแสดงรหัสแอสกี
2. รหัสเอบซีดิก (EBCDIC)
พัฒนาโดยบริษัทไอบีเอ็ม รหัสแทนข้อมูลนี้ไม่เป็นที่นิยมใช้แล้วในปัจจุบัน การกำหนดรหัส จะใช้ 8 บิต ต่อหนึ่งอักขระ เหมือนกับรหัสแอสกี แต่แบบของรหัสที่กำหนดจะแตกต่างกัน โดยรหัสเอบซีดิกจะเรียงลำดับแต่ละบิตที่ใช้แทนอักขระดังนี้
บิตที่ 0 1 2 3 4 5 6 7
รหัสแบบเอบซีดิก ก็สามารถใช้กำหนดให้กับอักษรภาษาไทย และเครื่องหมายอื่น ๆ ได้ เช่นเดียวกัน ตัวอย่างรหัสแทนข้อมูลแบบเอบซีดิก
บิตที่ 0 1 2 3 4 5 6 7อักขระที่แทน
1 1 1 1 0 1 1 1 7
1 1 0 0 0 1 1 1 G

1 0 0 0 0 1 1 1 g
3. รหัส UniCode
เป็นรหัสแบบใหม่ล่าสุด ถูกสร้างขึ้นมาเนื่องจากรหัสขนาด 8 บิตซึ่งมีรูปแบบเพียง 256 รูปแบบ ไม่สามารถแทนภาษาเขียนแบบต่าง ๆ ในโลกได้ครบหมด โดยเฉพาะภาษาที่เป็นภาษาภาพ เช่น ภาษาจีนหรือภาษาญี่ปุ่นเพียงภาษาเดียวก็มีจำนวนรูปแบบเกินกว่า 256 ตัวแล้ว UniCode จะเป็นระบบรหัสที่เป็น 16 บิต จึงแทนตัวอักษรได้มากถึง 65,536 ตัว ซึ่ง เพียงพอสำหรับตัวอักษรและสัญลักษณ์กราฟฟิกโดยทั่วไป รวมทั้งสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ ในปัจจุบันระบบ UniCode มีใช้ในระบบปฏิบัติการ Window NT ระบบปฏิบัติการ UNIX บางรุ่น รวมทั้งมีการสนับสนุนชนิดข้อมูลแบบ UniCode ในภาษา JAVA ด้วย

สัญญาณแบบอนาลอกและดิจิตอล

การส่งสัญญาณแบบอนาลอกและแบบดิจิตอล
(Analog and Digital Transmission)
การส่งสัญญาณแบบอนาลอก
เป็นการส่งส่งสัญญาณแบบอนาลอกโดยไม่สนใจในสิ่งที่บรรจุรวมอยู่ในสัญญาณเลย สัญญาณจะแทนข้อมูลที่เป็นอนาลอก (เช่น สัญญาณเสียง) หรือข้อมูลดิจิตอล (เช่น ข้อมูล ไบนารี) สัญญาณอนาลอกที่ทำการส่งออกไปพลังงานจะอ่อนลงเรื่อย ๆ เมื่อระยะทางเพิ่มขึ้น ดังนั้นในการส่งสัญญาณอนาลอกไประยะไกล ๆ จึงต้องอาศัยเครื่องขยายเสียงสัญญาณหรือแอมปลิไฟเออร์ (Amplifier) เพื่อเพิ่มพลังงานให้กับสัญญาณ แต่ในการใช้เครื่องขยายสัญญาณจะมีการสร้างสัญญาณรบกวนขึ้น (Noise) รวมกับสัญญาณข้อมูลด้วย ยิ่งระยะทางไกลมากเท่าไร ก็ยิ่งมีสัญญาณรบกวนมากขึ้นเท่านั้น การส่งสัญญาณอนาลอกจึงต้องการวงจรกรองสัญญาณ (Filter) เพื่อกรองเอาสัญญาณรบกวนออกอีก
การส่งสัญญาณแบบดิจิตอล
ส่วนในการส่งสัญญาณแบบดิจิตอลจะสนใจทุกสิ่งทุกอย่างที่บรรจุมาในสัญญาณ เมื่อระยะทางเพิ่มมากขึ้น จะทำให้สัญญาณดิจิตอลลดทอนหรือจางหายไปได้ จึงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ทบทวนสัญญาณหรือรีพีตเตอร์ (Repeater) เพื่อกู้คืน (Recover) รูปแบบของสัญญาณที่มีลักษณะเป็น "1" และ "0" เสียก่อน แล้วจึงส่งสัญญาณที่กู้มาใหม่ออกไปต่อไป
เราสามารถนำเอาอุปกรณ์ทบทวนสัญญาณมาใช้กับการส่งสัญญาณอนาลอกที่มีข้อมูลเป็นแบบดิจิตอลได้ เครื่องทบทวนสัญญาณจะกู้ข้อมูลดิจิตอลจากสัญญาณอนาลอกและสร้างสัญญาณขึ้นมาใหม่ แล้วลบสัญญาณอนาลอกที่ส่งมาด้วยออกไป ดังนั้นจะไม่มีสัญญาณรบกวนที่ติดมากับสัญญาณอนาลอกหลงเหลืออยู่เลย
คำถามคือว่า เราจะเลือกใช้วิธีการส่งสัญญาณข้อมูลเป็นแบบอนะล็อกหรือแบบดิจิตอลดี คำตอบ ก็ขึ้นอยู่กับว่า ระยะทางในการส่งข้อมูลนั้นใกล้หรือไกล ถ้าเป็นระยะทางใกล้ ๆ สามารถเดินสายสัญญาณดิจิตอลได้ ก็ควรจะเลือกใช้การส่งสัญญาณแบบดิจิตอล ส่วนการส่งสัญญาณ ข้อมูลในระยะทางไกล ๆ การสื่อสารของไทยเรายังคงเป็นระบบอนาลอกอยู่ เช่น ระบบโทรศัพท์หรือระบบโทรเลข ดังนั้นจึงควรเลือกใช้วิธีการส่งสัญญาณข้อมูลเป็นแบบอนาลอก
แต่อย่างไรก็ตาม ในอนาคตระบบสื่อสารในบ้านเราก็จะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นระบบดิจิตอล เช่น ระบบเครือข่าย ISDN ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นการส่งสัญญาณข้อมูลต่าง ๆ ก็จะอยู่ในรูปของดิจิตอลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณเสียงหรือภาพก็ตาม
เทคนิคการสื่อสารข้อมูลดิจิตอล( Digital Data Communication Technique )
เราได้ทำการศึกษาถึงรูปแบบการส่งผ่านสัญญาณข้อมูลทั้งที่เป็นสัญญาณอนาลอกและสัญญาณดิจิตอล ลักษณะของสัญญาณข้อมูล สื่อกลางของการส่งรับข้อมูล การมอดูเลตสัญญาณและอื่น ๆ สำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 2 เครื่องที่เชื่อมโยงกันด้วยสายสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน โดยปกติแล้ข้อมูลจะส่งผ่านทีละ 1 บิตต่อครั้งผ่านสายสื่อสาร แต่ละบิตของข้อมูลที่ถูกส่งผ่านไปอย่างต่อเนื่องกัน อาจจะส่งไป
แบบอนุกรม (Serial) หรือ
แบบขนาน ( parallel)
เพื่อให้อัตราการส่งข้อมูลเพิ่มมากขึ้น เวลาของบิตเหล่านี้จะต้องเท่ากันทั้งทางด้านเครื่องส่งและเครื่องรับ เทคนิคที่ทำให้เวลาที่ปลายทางทั้งสองด้านพร้อมกันมี 2 วิธีคือ
วิธีแบบ
อะซิงโครนัส (Asynchronization) และ
วิธีแบบ
ซิงโครนัส (Synchonization)
เปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างการส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัสและแบบซิงโครนัส

รูปแบบของการส่งข้อมูล

รูปแบบในการส่งข้อมูล (transmission mode)
การส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย สามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ การส่งแบบขนาน และการส่งแบบอนุกรม การส่งแบบขนาน (parallel transmission) คือการส่งข้อมูลพร้อมกันทีละหลาย ๆ บิตในหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา โดยการส่งจะรวมบิต 0 และ 1 หลาย ๆ บิตเข้าเป็นกลุ่มจำนวน n บิต ผู้ส่งส่งครั้งละ n บิต ผู้รับจะรับครั้งละ n บิตเช่นกัน ซึ่งจะคล้ายกับเวลาที่เราพูดคุยเราจะพูดเป็นคำ ๆ ไม่พูดทีละตัวอักษรกลไกการส่งข้อมูลแบบขนานใช้หลักการง่าย ๆ เมื่อส่งครั้งละ n บิต ต้องใ้ช้สาย n เส้น แต่ละบิตมีสายของตนเอง ในการส่งแต่ละครั้งทุกเส้นต้องใช้สัญญาณนาฬิกาอันเดียวกัน ทำให้สามารถส่งออกไปยังอุปกรณ์อื่นพร้อมกันได้
การส่งข้อมูลแบบอนุกรม (serial transmission) จะใช้วิธีการส่งทีละ 1 บิตในหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา ทำให้ดูเหมือนว่าบิตต่าง ๆ เรียงต่อเนื่องกันไป จากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่ง
ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบอนุกรม คือการใช้ช่องทางการสื่อสารเพียง 1 ช่อง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายลง แต่ข้อเสียคือ ความเร็วของการส่งที่ต่ำ ตัวอย่างของการส่งข้อมูลแบบอนุกรม เช่น โมเด็มจะใช้การส่งแบบอนุกรมเนื่องจากในสัญญาณโทรศัพท์มีสายสัญญาณเส้นเดียว และอีกเส้นหนึ่งเป็นสายดิน การส่งข้อมูลแบบอนุกรม แบ่งได้เป็น 2 แบบ ดังนี้
1. การส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส (asynchronous transmission) เป็นการส่งข้อมูลที่ผู้รับและผู้ส่งไม่ต้องใช้สัญญาณนาฬิกาเดียวกัน แต่ข้อมูลที่รับต้องถูกแปลตามรูปแบบที่ได้ตกลงกันไว้ก่อน เนื่องจากไม่ต้องใช้สัญญาณนาฬิกาเดียวกันทำให้ผู้รับไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าเมื่อใดจะมีข้อมูลส่งมาให้ ดังนั้นผู้ส่งจึงจำเป็นต้องแจ้งผู้รับให้ทราบว่าจะมีการส่งข้อมูลมาให้โดยการเพิ่มบิตพิเศษเข้ามาอีกหนึ่งบิต เอาไว้ก่อนหน้าบิตข้อมูล เรียกว่า บิตเริ่ม (start bit) โดยทั่วไปมักใช้บิต 0 และเพื่อให้ผู้รับทราบจุดสิ้นสุดของข้อมูลจึงต้องมีการเพิ่มบิตพิเศษอีกหนึ่งบิตเรียกว่าบิตจบ (stop bit) มักใช้บิต 1 นอกจากนี้แล้วการส่งข้อมูลแต่ละกลุ่มต้องมีช่องว่างระหว่างกลุ่ม โดยช่องว่างระหว่างไบต์อาจใช้วิธีปล่อยให้ช่องสัญญาณว่าง หรืออาจใช้กลุ่มของบิตพิเศษที่มีบิตจบก็ได้ รูปต่อไปนี้แสดงการส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส ให้บิตเริ่มเป็นบิต 0 บิตจบเป็นบิต 1 และให้ช่องว่างแทนไม่มีการส่งข้อมูล (สายว่าง)
ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส มี 2 ประการ คือ ค่าใช้จ่ายถูกและมีประสิทธิภาพ การส่งข้อมูลแบบนี้จะนำไปใช้ในการสื่อสารที่ต้องการใช้ความเร็วไม่สูงนัก ตัวอย่างเช่น การติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องปลายทาง (terminal) ที่โดยธรรมชาติแล้วเป็นการสื่อสารแบบอะซิงโครนัส เพราะผู้ใช้จะพิมพ์ทีละ 1 ตัวอักษรจากเครื่องปลายทางไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่ต้องใช้ความเร็วสูงในการติดต่อสื่อสาร
2. การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส (synchronous transmission) เป็นการส่งบิต 0 และ 1 ที่ต่อเนื่องกันไปโดยไม่มีการแบ่งแยก ผู้รับต้องแยกบิตเหล่านี้ออกมาเป็นไบต์ หรือเป็นตัวอักษรเอง การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัสมีประสิทธิภาพสูงกว่าแบบอะซิงโครนัสมาก และทำให้มีการใช้ความสามารถของสายสื่อสารได้เกือบทั้งหมด ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส คือความเร็วในการส่งข้อมูล ทั้งนี้เพราะไม่มีบิตพิเศษหรือช่องว่างที่ไม่ได้ถูกนำไปใช้เมื่อถึงผู้รับ จึงทำให้ความเร็วของการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัสเร็วกว่าแบบอะซิงโครนัส ด้วยเหตุนี้จึงมีการนำไปใช้งานที่ต้องการความเร็วสูง เช่น การส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์

รูปแบบของการสื่อสารข้อมูล

รูปแบบของการสื่อสารข้อมูล (Communications Model)
จุดมุ่งหมายหลักของระบบสื่อสารคือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสองฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่งอาจรับข้อมูลหรือส่งเพียงอย่างเดียว หรืออาจมีทั้งการรับและส่งได้ทั้งสองฝ่าย จาก (รูปที่ 2.2) แสดงการติดต่อสื่อสารกัน ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็น Workstation กับเครื่อง Server ผ่านระบบเครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะ องค์ประกอบพื้นฐานของโครงสร้างระบบสื่อสารประกอบด้วย
1. อุปกรณ์ต้นทาง (Source)
อุปกรณ์นี้ทำหน้าที่สร้างข้อมูลขึ้นมา ที่ใช้ในการกระจายออกไป
2. อุปกรณ์กระจายข้อมูล (Transmitter)
โดยปกติข้อมูลที่สร้างขึ้นมา จากต้นทาง ไม่สามารถกระจายหรือส่งข้อมูลในรูปแบบนั้นให้กับผู้รับอื่นได้โดยตรง จำเป็นต้องอาศัยตัวกระจายข้อมูล (Transmitter) ซึ่งจะทำหน้าที่เปลี่ยนแปลง รูปแบบข้อมูลให้อยู่ ในสภาพที่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Signals) แล้วส่งผ่านเข้าไปในระบบรับส่งข้อมูล (Transmission System) ตัวอย่างเช่นข้อมูลที่สร้างขึ้นจากอุปกรณ์ต้นทาง (Source) เครื่องคอมพิวเตอร์ ก่อนที่จะส่งออกไปจะต้องมีโมเด็ม (Modem) ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิตอล (Digital Bit Stream) ไปเป็นสัญญาณอนาลอก (Analog Signal) ซึ่งเป็นสถานะของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ส่งผ่านเข้าไปในระบบเครือข่ายโทรศัพท์ (Telephone Network)
3. ระบบการส่งสัญญาณ (Transmission)
จะทำหน้าที่เป็นตัวนำพาสัญญาณจากเครื่องส่งหรืออุปกรณ์ส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์รับสัญญาณ ซึ่ง transmission หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นสื่อนำสัญญาณ (media) ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายลักษณะทั้งสื่อนำสัญญาณแบบมีสารและไร้สาย
4. อุปกรณ์รับสัญญาณ (Receiver)
อุปกรณ์ที่เป็น receiver จะทำหน้าที่รับสัญญาณจากระบบกระจายสัญญาณ (transmission system) แล้วเปลี่ยนแปลงสัญญาณกลับเป็นรูปแบบที่เหมือนกับต้นฉบับก่อนที่จะส่งออกมาจากต้นทาง ทำให้อุปกรณ์ปลายทาง ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถจัดการกับข้อมูล ที่รับเข้ามาได้ เช่น โมเด็ม (Modem) จะเปลี่ยนสัญญาณอนาลอก (analog) กลับไปเป็นสัญญาณดิจิตอล (digital) ให้เครื่อง คอมพิวเตอร์ปลายทางอ่านข้อมูลหรือจัดการกับข้อมูลได้
5. อุปกรณ์ปลายทาง (Destination) รับข้อมูลเข้ามาจาก อุปกรณ์รับสัญญาณ (receiver)

วิธีการรับส่งข้อมูล

วิธีการรับส่งข้อมูล
1.สัญญาณ (signal) เนื่องจากอุปกรณ์ที่จะทำการสื่อสารข้อมูลกันเป็นอุปกรณ์ทางไฟฟ้า โดยสัญญาณทางไฟฟ้ามีอยู่สองรูปแบบคือสัญญาณอนาลอก (analog) และสัญญาณแบบดิจิตอล (digital)

- สัญญาณอนาลอก คือสัญญาณทีมีความต่อเนื่องตลอดเวลา โดยสัญญาณนี้จะอยู่ในความต่างศักย์ไฟฟ้าที่เปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่อง
- สัญญาณดิจิตอล คือสัญญาณที่มีค่าไม่ต่อเนื่อง ลักษณะของสัญญาณนี้มีอยู่สองระดับถูกแทนเป็นระดับสัญญาณสูง หรือลอจิกสูง กับระดับสัญญาณต่ำ หรือลอจิกต่ำ
2. รหัสแทนข้อมูล (data code)การเก็บข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์นั้นจะถูกเก็บอยู่ในรูปเลขฐานสองไม่ว่าจะเป็นตัวเลข หรือ อักขระข้อมูลต่างๆจะถูกเก็บอยู่ในรูปรหัสเลขฐานสองที่แทนด้วยค่า "0" และค่า "1" ทั้งสิ้น โดยระบบจะนำค่าลอจิก 0 และลอจิก 1 เหล่านี้มาจัดกลุ่มกัน เรียกว่า รหัสแทนข้อมูล รหัสที่นิยมใชกันในปัจจุบัน ได้แก่ - รหัสแอสกี (ascll code)- รหัสเอ็บซีดิก (ebcdic code)- รหัสยูนิโค๊ด (unicode)
3. การรับส่งข้อมูล (Data transmission)การส่งข้อมูล หรือ Data transmission คือการขนส่งข้อมุลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งด้วยวิธีการต่างๆ
4.ลักษณะการส่งข้อมูล สามารถแบ่งการส่งข้อมูลออกตามลักษณะการส่งข้อมูลได้ 2 แบบคือ
1.การส่งข้อมุลแบบอนุกรม เป็นการส่งข้อมูลทีละบิต (1 หรือ 0 ) เช่น ข้อมูล 1 ตัวอักษร มี 8 บิต แต่จะต้องส่ง 9 บิต คือ เพิ่มบิตที่ใช้ตรวจสอบข้อมูล
2.การส่งข้อมูลแบบขนาน เป็นการส่งข้อมูลทีละชุด ผ่านสายตัวนำหลายเส้นในคราวเดียว เช่น การส่งเป็นไบต์ (1 byte=8 bit) จะใช้สาย 8 เส้นส่งข้อมูลพร้อมกันเป็นชุดๆ ต่อเนื่องกันไป จะมีความเร้วในการส่งที่สูงกว่าแบบอนุกรม
5.วิธีการส่งข้อมูล สามารถแบ่งการส่งข้อมูลออกเป็น 2 วิธี 1.การส่งข้อมูลแบบอซิงโครนัส เป็นการส่งข้อมูลแบบไม่เป็นจังหวะ โดยจะมีบิตเริ่มและบิตจบอยู่ครอบหน้าหลังของข้อมูล เพื่อบอกให้ผู้รับได้รู้ว่าจะมีการเริ่มต้นส่งข้อมูลมาแล้ว และบอกว่าการส่งข้อมูลได้สิ้นสุดลงแล้ว เช่น ข้อมูล1ตัวอักษรมี8บิตแต่ต้องส่ง10บิตโดย2บิตที่เพิ่มขึ้นมาจะเป็นบิตเริ่มต้นและบิตสิ้นสุด เช่น 1 0100 0001 0 เป็นต้น 2.การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส เป็นการส่งข้อมูลแบบเป็นจังหวะ ตามสัญญาณอนาฬิกา โดยสัญญาณนาฬิกาจะเป็นตัวควบคุมจังหวะ การส่งข้อมูลแบบนี้จะไม่มีการใช้บิตเริ่ม บิตจบ เหมือนอซิงโครนัส จะมีก็เฉพาะบิตที่ใช้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเท่านั้น ซึ่งการไม่มีบิตเริ่มและบิตจบ ทำให้ปริมาณข้อมูลมีน้อยลง และสามารถประหยัดเวลาในการรับส่งได้

สรุป การส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง ข้อมูลที่จะส่งอยู่ในรูปของสัญญาณทางไฟฟ้า ไม่ได้อยู่ในรูปของตัวอักษรที่อ่านได้ โดยการส่งข้อมูลมีทั้งการส่งข้อมูลแบบขนานและการส่งข้อมูลแบบอนุกรม


วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การสื่อสารข้อมูล (Data Communication)

การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน

วิธีการส่งข้อมูล จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้น กลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นก็คือ สิ่งรบกวน (Noise) จากภายนอกทำให้ข้อมูลบางส่วนเสียหาย หรือผิดเพี้ยนไปได้ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องมีหาวิธีลดสิ่งรบกวน
เหล่านี้ โดยการพัฒนาตัวกลางในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อยที่สุด

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้
1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใด
ที่การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ จุดหมายปลายทางไม่ได้รับ
ข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลง
ความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่าง ผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์ มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้ วงจรกรอง (filter)
กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น


ข่ายการสื่อสารข้อมูล
หมายถึง การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า
ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)

องค์ประกอบพื้นฐาน

หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)



วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อลดเวลาการทำงาน
เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ


ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล
1) การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บซึ่อยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึกที่มีความหนาแน่นสูง
แผ่นบันทึกแผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้น ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ในอัตรา 120 ตัวอักษร
ต่อวินาทีแล้ว จะส่งข้อมูล 200 หน้าได้ในเวลา 40 นาที โดยไม่ต้องเสียเวลานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก
2) ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติวิธีส่งข้อมูลด้วยสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งด้วยระบบดิจิตอล วิธีการส่งข้อมูลนั้นมีการตรวจสอบ
สภาพของข้อมูล หากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้ และพยายามหาวิธีแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่ หรือกรณีที่ผิดพลาด
ไม่มากนัก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้
3) ความเร็วของการทำงาน โดยปกติสัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่ง ไปยังอีกซีก
โลกหนึ่ง หรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้รวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายยิ่งขึ้น เช่น บริษัทสายการบินทุกแห่ง
สามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจองที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที
4) ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าหากันเป็นเครือข่าย เพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูล ทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลประหยัดขึ้น เมื่อเทียบกับการ
จัดส่งแบบวิธีอื่น สามารถส่งข้อมูลให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้