วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552

สัญญาณแบบอนาลอกและดิจิตอล

การส่งสัญญาณแบบอนาลอกและแบบดิจิตอล
(Analog and Digital Transmission)
การส่งสัญญาณแบบอนาลอก
เป็นการส่งส่งสัญญาณแบบอนาลอกโดยไม่สนใจในสิ่งที่บรรจุรวมอยู่ในสัญญาณเลย สัญญาณจะแทนข้อมูลที่เป็นอนาลอก (เช่น สัญญาณเสียง) หรือข้อมูลดิจิตอล (เช่น ข้อมูล ไบนารี) สัญญาณอนาลอกที่ทำการส่งออกไปพลังงานจะอ่อนลงเรื่อย ๆ เมื่อระยะทางเพิ่มขึ้น ดังนั้นในการส่งสัญญาณอนาลอกไประยะไกล ๆ จึงต้องอาศัยเครื่องขยายเสียงสัญญาณหรือแอมปลิไฟเออร์ (Amplifier) เพื่อเพิ่มพลังงานให้กับสัญญาณ แต่ในการใช้เครื่องขยายสัญญาณจะมีการสร้างสัญญาณรบกวนขึ้น (Noise) รวมกับสัญญาณข้อมูลด้วย ยิ่งระยะทางไกลมากเท่าไร ก็ยิ่งมีสัญญาณรบกวนมากขึ้นเท่านั้น การส่งสัญญาณอนาลอกจึงต้องการวงจรกรองสัญญาณ (Filter) เพื่อกรองเอาสัญญาณรบกวนออกอีก
การส่งสัญญาณแบบดิจิตอล
ส่วนในการส่งสัญญาณแบบดิจิตอลจะสนใจทุกสิ่งทุกอย่างที่บรรจุมาในสัญญาณ เมื่อระยะทางเพิ่มมากขึ้น จะทำให้สัญญาณดิจิตอลลดทอนหรือจางหายไปได้ จึงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ทบทวนสัญญาณหรือรีพีตเตอร์ (Repeater) เพื่อกู้คืน (Recover) รูปแบบของสัญญาณที่มีลักษณะเป็น "1" และ "0" เสียก่อน แล้วจึงส่งสัญญาณที่กู้มาใหม่ออกไปต่อไป
เราสามารถนำเอาอุปกรณ์ทบทวนสัญญาณมาใช้กับการส่งสัญญาณอนาลอกที่มีข้อมูลเป็นแบบดิจิตอลได้ เครื่องทบทวนสัญญาณจะกู้ข้อมูลดิจิตอลจากสัญญาณอนาลอกและสร้างสัญญาณขึ้นมาใหม่ แล้วลบสัญญาณอนาลอกที่ส่งมาด้วยออกไป ดังนั้นจะไม่มีสัญญาณรบกวนที่ติดมากับสัญญาณอนาลอกหลงเหลืออยู่เลย
คำถามคือว่า เราจะเลือกใช้วิธีการส่งสัญญาณข้อมูลเป็นแบบอนะล็อกหรือแบบดิจิตอลดี คำตอบ ก็ขึ้นอยู่กับว่า ระยะทางในการส่งข้อมูลนั้นใกล้หรือไกล ถ้าเป็นระยะทางใกล้ ๆ สามารถเดินสายสัญญาณดิจิตอลได้ ก็ควรจะเลือกใช้การส่งสัญญาณแบบดิจิตอล ส่วนการส่งสัญญาณ ข้อมูลในระยะทางไกล ๆ การสื่อสารของไทยเรายังคงเป็นระบบอนาลอกอยู่ เช่น ระบบโทรศัพท์หรือระบบโทรเลข ดังนั้นจึงควรเลือกใช้วิธีการส่งสัญญาณข้อมูลเป็นแบบอนาลอก
แต่อย่างไรก็ตาม ในอนาคตระบบสื่อสารในบ้านเราก็จะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นระบบดิจิตอล เช่น ระบบเครือข่าย ISDN ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นการส่งสัญญาณข้อมูลต่าง ๆ ก็จะอยู่ในรูปของดิจิตอลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณเสียงหรือภาพก็ตาม
เทคนิคการสื่อสารข้อมูลดิจิตอล( Digital Data Communication Technique )
เราได้ทำการศึกษาถึงรูปแบบการส่งผ่านสัญญาณข้อมูลทั้งที่เป็นสัญญาณอนาลอกและสัญญาณดิจิตอล ลักษณะของสัญญาณข้อมูล สื่อกลางของการส่งรับข้อมูล การมอดูเลตสัญญาณและอื่น ๆ สำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 2 เครื่องที่เชื่อมโยงกันด้วยสายสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน โดยปกติแล้ข้อมูลจะส่งผ่านทีละ 1 บิตต่อครั้งผ่านสายสื่อสาร แต่ละบิตของข้อมูลที่ถูกส่งผ่านไปอย่างต่อเนื่องกัน อาจจะส่งไป
แบบอนุกรม (Serial) หรือ
แบบขนาน ( parallel)
เพื่อให้อัตราการส่งข้อมูลเพิ่มมากขึ้น เวลาของบิตเหล่านี้จะต้องเท่ากันทั้งทางด้านเครื่องส่งและเครื่องรับ เทคนิคที่ทำให้เวลาที่ปลายทางทั้งสองด้านพร้อมกันมี 2 วิธีคือ
วิธีแบบ
อะซิงโครนัส (Asynchronization) และ
วิธีแบบ
ซิงโครนัส (Synchonization)
เปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างการส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัสและแบบซิงโครนัส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น